คณะอนุกรรมาธิการส่งเสริมกิจการศาสนาฯ วุฒิสภาจัดประชุม เรื่อง ปัญหาการจัดการที่ดินบริจาคให้แก่ศาสนสถาน

รูปประชุมกรรมาธิการศาสนา ๒

รูปประชุมกรรมาธิการศาสนา ๑

เมื่อวันที่ ๒ ตุลาคม ๒๕๕๖ คณะอนุกรรมาธิการส่งเสริมกิจการศาสนาและศาสนิกสัมพันธ์ วุฒิสภา โดยมีนายสุริยา ปันจอ เป็นประธานคณะกรรมาธิการฯ ได้จัดประชุม เรื่อง ปัญหาการจัดการที่ดินบริจาคให้แก่ศาสนสถานโดยคณะอนุกรรมกาธิการได้เชิญผู้แทนศาสนาพุธ ศาสนาอิสลาม ศาสนาคริสต์ และสภาทนายความเข้าร่วมประชุมเสนอความคิดเห็นด้วย ในการประชุมดังกล่าว นายอาหะหมัด ขามเทศทอง ได้รับเชิญเข้าร่วมประชุมในฐานะเลขานุการคณะกรรมการอิสลามประจำกรุงเทพมหานคร ซึ่งนายอาหะหมัด ขามเทศทอง ได้เสนอต่อที่ประชุมว่าการอุทิศ(วากั๊ฟ)ที่ดินให้แก่มัสยิดในปัจจุบันมีปัญหาเรื่องการรับโอนกรรมสิทธิ์ เนื่องจากมัสยิดไม่สามารถจะใช้สิทธิชำระค่าจดทะเบียน

รูปประชุมกรรมาธิการศาสนา ๓ร้อยละ ๐.๐๑ ตามกกระทรวงได้ ทั้งนี้เนื่องจากตามกฏกระทรวงมหาดไทย ฉบับที่ ๔๗ (พ.ศ.๒๕๔๑) ออกตามความใน พ.ร.บ.ให้ใช้ประมวลกฎหมายที่ดิน พ.ศ.๒๔๙๗ ข้อ ๒(๗)(จ) กำหนดว่า  ค่าจดทะเบียนในกรณีที่วัดวาอาราม วัดบาทหลวงโรมันคาทอลิค หรือมัสยิดอิสลามเป็นผู้รับให้เพื่อใช้เป็นที่ตั้งศาสนสถาน ทั้งนี้ในส่วนที่ได้มารวมกับที่ดินที่มีอยู่ก่อนแล้วไม่เกิน ๕๐ ไร่ เรียกตามราคาประเมินทุนทรัพย์ตามที่คณะกรรมการกำหนดราคาประเมินทุนทรัพย์กำหนดร้อยละ ๐.๐๑ ซึ่งตามกฎกระทรวงดังกล่าวได้มีการตีความว่า “ศาสนสถาน” สำหรับทางศาสนาอิสลามคือ มัสยิด โรงเรียนสอนศาสนา กุโบ๊ร(สุสาน) บาแล หรือ บาลัย ดังนั้นหากที่ดินที่อุทิศ(วากั๊ฟ)ให้นั้นไม่ได้ใช้เป็นที่ตั้งศาสนสถานจึงไม่สามารถจะชำระในอัตรา ร้อยละ ๐.๐๑ ได้ แต่ต้องเสียค่าจดทะเบียนตามปกติ เพราะที่ดินที่อุทิศ(วากั๊ฟ)ให้แก่มัสยิดส่วนใหญ่ไม่ได้เป็นที่ตั้งศาสนสถานแต่ต้องการให้นำที่ดินนั้นไปดำเนินการให้เกิดผลประโยชน์แล้วนำผลประโยชน์นั้นมาบำรุงมัสยิดหรือมาบริหารมัสยิด ด้วยเหตุดังกล่าวนายอาหะหมัด ขามเทศทอง จึงได้เสนอให้แก้ไขกฎกระทวงดังกล่าวโดยขอให้ตัดคำว่า”เพื่อใช้เป็นที่ตั้งศาสนสถาน”ออก เพื่อว่าจะได้ครอบคุลมถึงกรณีที่มีการอุทิศ(วากั๊ฟ)ที่ดินให้โดยไม่ได้ใช้เป็นที่ตั้งศาสนสถานก็สามารถจะใช้สิทธิชำระค่าจดทะเบียนร้อยละ ๐.๐๑ ได้ตามกฎกระทรวงที่เสนอแก้ไขนี้ และจะได้รับสิทธิเหมือนกันทุกศาสนาด้วย ซึ่งที่ประชุมเห็นด้วยตามข้อเสนอของนายอาหะหมัด ขามเทศทอง และจะนำเสนอต่อคณะกรรมมิการวุฒิสภาเพื่อให้เสนอต่อรัฐบาลต่อไป  ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับทางรัฐบาลว่าจะยอมแก้ไขกฎกระทรวงดังกล่าวหรือไม่